ปิโตรเลียม เป็นน้ำมันดิบชนิดหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ตามกระบวนการทางธรรมชาติซึ่งต้องใช้ระยะเวลายาวนานกว่าที่จะเกิดปิโตรเลียมเหล่านี้ขึ้น โดยจะเกิดขึ้นได้ต้องอยู่ในสภาวะภายใต้แรงกดดันและอุณหภูมิที่สูงเพียงพอจนทำให้ปิโตรเลียมต่าง ๆ แยกหลอมรวมตัวกันเกิดเป็นน้ำมันดิบออกมา ซึ่งน้ำมันดิบเหล่านี้จะถูกเรียกว่าน้ำมันปิโตรเลียม ที่สามารถนำมาใช้ประยุกต์และงานในปัจจุบันในภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมากมาย มีตั้งแต่ระดับน้ำมันเตาหรือแก๊สหุงต้มต่าง ๆ รวมทั้งยางมะตอย ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้ในกระบวนการสุดท้ายของการกลั่นน้ำมันหรือการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ถือว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้ตั้งแต่กระบวนการกลั่นตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสุดท้ายนั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น  

ไม่เว้นแม้แต่การนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงมากมายในหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นในอุตสาหกรรมรถยนต์หรือที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ทุกชนิด อาคารบ้านเรือน ร้านอาหารที่ต้องใช้ในการหุงต้มในการประกอบอาหาร ซึ่งตัวก๊าซปิโตรเลียมที่ได้มาจากการกลั่นนั้นมักจะอยู่ในรูปของเชื้อเพลิงเหลวที่ถูกอัดมาด้วยแรงดันสูงเพื่อให้แก๊สเปลี่ยนรูปมาเป็นของเหลวให้ง่ายต่อการใช้งานและการจัดเก็บ เพื่อให้พร้อมใช้งานได้ในทันที ในกระบวนการใช้งานการเผาไหม้สารเหล่านี้จะเกิดเขมาควันที่น้อย 

แหล่งที่มาของน้ำมันปิโตรเลียม 

แหล่งที่มาของน้ำมันปิโตรเลียมก็มาจากใต้พื้นพิภพในท้องทะเลเป็นส่วนใหญ่ สามารถสำรวจหาปิโตรเลียมได้โดยวิธีการทางธรณีฟิสิกส์ได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการวัดค่าความสั่นสะเทือนโดยดูการระเบิดใต้พื้นดิน ซึ่งความสั่นสะเทือนจากใต้พื้นนั้นจะสะท้อนกลับเข้ามาที่เครื่องรับสัญญาณทำให้เราคำนวณตำแหน่งและปริมาณของน้ำมันภายในหลุมได้ตรงจุดและแม่นยำมากขึ้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการวัดค่าความสั่นสะเทือนในสองมิติหรือสามมิติก็สามารถวัดค่าหาตำแหน่งได้เช่นเดียวกัน ขึ้นอยู่กับว่าพื้นที่ธรณีวิทยานั้น ๆ เอื้อต่อการวัดในรูปแบบใด 

รวมทั้งตัวเครื่องมือรับสัญญาณที่เรามีอยู่สามารถตรวจจับได้หรือทำงานภายใต้ลักษณะการวัดค่าแบบใดก็ควรจะดำเนินตามอุปกรณ์ที่เรามีอยู่ นอกจากนี้เรายังสามารถค้นหาสำรวจปิโตรเลียมโดยการวัดค่าความเข้มของสนามแม่เหล็กเนื่องจากชั้นหินต่าง ๆ ภายใต้พื้นพิภพนั้น มักจะมีการดูดซึมค่าสนามแม่เหล็กเอาไว้ภายในตนเอง ก่อนการขุดเจาะสำรวจจึงจะต้องมีการเช็คจากความเข้มของสนามแม่เหล็ก ซึ่งตำแหน่งที่มีปริมาณของแม่เหล็กมาก สามารถบ่งบอกได้ว่าจะมีจำนวนปิโตรเลียมมากเช่นเดียวกัน ทำให้สามารถขุดเจาะได้ถูกตำแหน่งและคาดคะเนปริมาณของปิโตรเลียมได้ ในการขุดเจาะลงบนตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งนั้นผู้ที่ทำการสำรวจจะต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญทักษะในการขุดเจาะเป็นอย่างมาก เพื่อให้สามารถได้ปิโตรเลียมในปริมาณที่มากเพียงพอต่อความต้องการและการลงทุนในการสำรวจ อีกทั้งการจะขุดเจาะยังต้องคำนึงถึงผลกระทบอีกหลากหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะใต้พื้นพิภพ สภาพภูมิอากาศและสภาพภูมิประเทศในบริเวณนั้นโดยไม่รบกวนสิ่งแวดล้อมหรือสร้างปัญหาให้เกิดขึ้น