ธุรกิจการขายของออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ หรือหลากหลายผลิตภัณฑ์นั้น มีมากมายหลายอย่างที่ต้องศึกษาและเรียนรู้เอาไว้เพื่อเพิ่มยอดขายที่ดี เพิ่มช่องทางการกระจายสินค้าต่างๆ และสิ่งที่สำคัญที่ต้องเรียนรู้ไว้ก่อนทำการขายของออนไลน์นั้นก็คือเรื่องของ “กฏหมายที่เกี่ยวข้อง” ด้วยครับ วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “กฏหมายเกี่ยวกับการขายของออนไลน์ที่ต้องรู้”  กันสักหน่อยครับ จะมีอะไรบ้างนั้น…เราไปชมกันดีกว่าครับผม

7 ข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายออนไลน์

●กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 กฎหมายฉบับนี้ สาระสำคัญจะรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เหมือนกับการทำหลักฐานเป็นกระดาษหรือหนังสือรับรองการส่งและรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึง ใช้เป็นพยานหลักฐาน

●กฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ระบุการกระทำผ่านหรือโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ในการกระทำความผิด ซึ่งมีวัตถุประสงค์มุ่งต่อระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรือบุคคล เพื่อให้เกิดความเสียหาย

●กฎหมายขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้าทางออนไลน์ที่เข้าข่ายการ “ตลาดแบบตรง” ต้องจดทะเบียนการประกอบธุรกิจกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคก่อนทำการค้า

●กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค “การโฆษณา” จะต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ไม่ว่าข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือลักษณะสินค้าหรือบริการ ตลอดจนการส่งมอบ จัดหา หรือใช้สินค้าหรือบริการ

●กฎหมายทะเบียนพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ กำหนดให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจการซื้อขายสินค้าหรือบริการออนไลน์ การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting) และการบริการเป็นตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Marketplace) ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

●กฎหมายลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 กำหนดสิทธิ์ประโยชน์ให้แก่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา และป้องกันถูกผู้อื่นละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้งขาย เสนอขาย เผยแพร่ แจกจ่าย แสวงหากำไร อันสร้างความเสียหายให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์

●กฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ดูแลราคาสินค้าต่างๆ ให้อยู่ในระดับราคาเหมาะสม เพื่อให้เกิดการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม ไม่มีการฮั้วราคา รายใหญ่รังแกรายเล็ก และกำหนดราคาตามอำเภอใจ

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนค้าขายออนไลน์

●รู้จักกับช่องทางการขายสินค้า เลือกให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย

ช่องทางการขายสินค้าออนไลน์มีหลากหลาย เช่น ขายบน เว็บไซต์ ที่เปิดใหม่ขึ้นเอง ซึ่งแม้จะต้องลงทุนเพื่อทำเว็บไซต์ของตัวเอง แต่ก็มีข้อดี คือ สามารถบริหารจัดการหน้าร้าน การแสดงผล รวมถึงฟังก์ชั่นที่ต้องการได้ตามที่ต้องการนอกจากนี้ยังสามารถขายผ่านแพลตฟอร์มยอดนิยมอย่าง e-Marketplace เช่น Shopee, Lazada ก็สะดวกง่ายดาย หรือจะขายผ่าน Social Commerce อาทิ Facebook, IG, Line ที่เดี๋ยวนี้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้สามารถค้าขายบนแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้และเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น

●งบลงทุนและการหาสินค้ามาขาย

“งบลงทุน” เป็นสิ่งแรกที่ต้องวางแผนงบการขายสินค้า เพราะจะเป็นตัวกำหนดให้เราใช้เงินลงทุนในงบที่กำหนด ป้องกันการใช้งบบานปลาย สิ่งที่ควบคู่กันมาก็คือ การหาสินค้ามาขาย ควรเริ่มต้นจากความชอบของผู้ค้า และเช็กความต้องการของลูกค้าในตลาดด้วย รวมถึงมองหา “แหล่งสินค้า” ที่จะนำมา “ขายของออนไลน์” โดยสามารถหาซื้อได้จากหลายแหล่ง ซึ่งมีราคาและคุณภาพที่แตกต่างกันออกไป จึงควรลงพื้นที่สำรวจสินค้า เพื่อให้ได้สินค้าที่ดีตรงกับความต้องการลูกค้ามากที่สุด โดย “แหล่งสินค้า” ที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ส่วนใหญ่นิยมไปเสาะหาสินค้ามาขาย ได้แก่

–          ตลาดโรงเกลือ : เหมาะกับพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการขาย “สินค้ามือสอง” หรือ “ของสะสม” ที่นี่เป็นแหล่งค้าส่งสินค้ามือสองขนาดใหญ่ ที่ขายในราคาถูก แม่ค้ามือใหม่สามารถไปหาซื้อและคัดสรรสินค้ามือสองคุณภาพดี แล้วนำมาขายต่อทำกำไรได้ ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ผ้าห่ม ของแต่งบ้าน ฯลฯ

–          ตลาดโบ๊เบ๊/สำเพ็ง/ประตูน้ำ : เป็นแหล่งค้าส่งในไทย ที่แม่ค้าหาซื้อของได้ในราคาถูก เหมาะกับผู้ที่ต้องการขายสินค้ามือหนึ่งจำพวกเสื้อผ้าแฟชั่น เครื่องประดับ กระเป๋า รองเท้า ของกิ๊บช็อป อุปกรณ์ทำเครื่องประดับ สินค้าตามเทศกาล (สงกรานต์, ฮาโลวีน, คริสต์มาส), เครื่องสำอาง, เครื่องเขียน ฯลฯ

●สั่งจากซื้อยกโหลจากต่างประเทศ  ซึ่งการซื้อสินค้าจำนวนมากๆ จากต่างประเทศอย่างประเทศจีนนั้นจะทำให้ได้ของที่มีราคาดีและคุณภาพที่เหมาะสม ทำให้เราสามารถเก็งกำไรและลงต้นทุนได้นั้นเองครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “กฏหมายเกี่ยวกับการขายของออนไลน์ที่ต้องรู้” พร้อมกับความรู้เพิ่มที่เติมที่ได้นำมาฝากกัน หวังว่าจะชอบกันนะครับ