สิ่งที่เป็นทั้งหน้าที่และสามารถสร้างความรู้สึกไม่เท่าเทียมแถมยังเป็นส่งที่เหล่าผู้มีรายได้ต้องแบ่งเงินสำหรับ “เสียภาษี” ซึ่งก็มีหลายๆ คนคิดที่ไม่อยากจะเสียภาษีเพราะมีความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นทำในการใช้ชีวิตได้นั้นเอง วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “ทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีการค้าขาย” กันดูสักหน่อยครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราลุยกันเลยดีกว่าครับผม

ทำความรู้จักกับคำว่า ภาษี

ภาษี(Tax) คือ  เงินตราหรือทรัพย์ที่ประชาชนต้องนำส่งให้กับรัฐหรือสถาบันที่มีหน้าที่เทียบเท่ากับรัฐทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เพื่อนำเงินตราหรือทรัพย์ที่เก็บได้จากประชาชนมาใช้ในการบำรุงผลักดันและสร้างเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งภาษีเหล่านี้จะถูกนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในระบบราชการ สาธารณูปโภคทั้งหมดในประเทศชาติเพราะเป็นรายได้หลักจากรัฐที่จะนำมาพัฒนาให้ประชาชนอยู่กันในประเทศอย่างภาสุข ในความหมายของภาษีเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

1. ภาษีทางตรง คือ ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงไม่สามารถผลักภาระไปให้กับบุคคลอื่นอาทิ ภาษีเงินได้บุคคล ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นต้น

2. ภาษีทางอ้อม คือ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีแต่ไม่ต้องรับภาระ สามารถที่จะผลักภาระภาษีนี้ไปให้กับบุคคลอื่น ซึ่งเรามักจะเรียกว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น

ภาษีการค้า คืออะไร?

ภาษีการค้า (business tax) – ภาษีการขายที่เก็บกับสินค้าขั้นสุดท้ายทุกชนิดในอัตราเดียวกันโดยไม่มีข้อยกเว้น เราเรียก ภาษีการขายนั้นว่า อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยมีอัตราเดียว คือร้อยละ 7 จัดเก็บจาก ผู้ประกอบการกิจการสินค้าและบริการทุกประเภท ยกเว้น การขายสินค้า 24  ประเภท ที่ระบุไว้

การยื่นภาษีการค้า

หลังจากทำการค้าขายของเหล่าบรรดาพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทั้งหมายนั้น  รายได้จากร้านค้าทั้งส่วนที่ได้รับจากลูกค้าและส่วนที่ได้รับจากรัฐ รายได้ดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) ถ้ามีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องยื่นภาษีก็ต้องยื่นแบบนำภาษีเงินได้ ต่อไป

หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องยื่นภาษี

–          ยื่นภาษีครึ่งปีด้วยแบบ ภ.ง.ด.94 ยื่นภายในเดือนกันยายน และ

–          ยื่นประจำปีด้วยแบบ ภ.ง.ด.90 ยื่นภายในเดือนมีนาคมปีถัดไป

เกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี

–          คนโสดมีรายได้เกิน 60,000 บาท ต่อปี

–          คนมีคู่สมรส ไม่ว่าจะมีรายได้ฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายรวมกันเกิน 120,000 บาท

ผู้ขายของออนไลน์ “คำนวณภาษี” อย่างไร?

ผู้ค้าออนไลน์ที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะถือว่าเป็นบุคคลธรรมดาที่ต้อง “เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” โดยผู้ค้าออนไลน์สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายในการลดหย่อนภาษีได้ 2 แบบคือ แบบหักตามจริง และแบบเหมา 60%

1. หักค่าใช้จ่ายตามจริง ผู้ค้าออนไลน์ที่มีต้นทุนสูงในการขายสินค้า เหมาะกับการยื่นภาษีแบบหักค่าใช้จ่ายตามจริง เพราะวิธีนี้จะทำให้คนที่มีต้นทุนสูงสามารถหักค่าใช้จ่ายได้สูงด้วย ซึ่งเมื่อหักค่าใช้จ่ายไปแล้ว เงินได้สุทธิที่ต้องนำมาคำนวณภาษีก็จะลดลงตามไป โดยวิธีนี้ต้องจัดเก็บรวบรวม “บัญชีรายรับรายจ่าย” พร้อม “หลักฐาน” ไว้ให้ครบถ้วนเพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ และช่วยลดความสับสนเมื่อต้อง ยื่นภาษี

2. หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% เหมาะกับใคร ? ผู้ค้าออนไลน์ที่มีกำไรเยอะ เช่น กำไรที่แท้จริงหักค่าใช้จ่ายแล้วมีมากกว่า 40% หมายความว่าต้นทุนของธุรกิจจะน้อยกว่า 60% ของรายได้ทั้งหมด กรณีนี้แนะนำให้เลือกใช้การยื่นภาษีแบบเหมา ซึ่งข้อดีของการยื่นแบบนี้ คือไม่ต้องแสดงหลักฐานค่าใช้จ่ายใดๆ กับกรมสรรพากร และทำให้เราได้ประโยชน์ทางภาษีในส่วนต่างของต้นทุนที่แท้จริง กับค่าใช้จ่ายแบบเหมาเหมาในอัตรา ร้อยละ 60 นั้นเองครับ

ยื่นภาษีได้ผ่านช่องทางไหนได้บ้าง

สำหรับช่องทางการ “ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” มี 2 ทางเลือก ช่องทางแรกคือ เตรียมเอกสารแบบกระดาษ เดินทางไปยื่นภาษีด้วยตัวเองที่กรมสรรพากร ในเวลาราชการ ช่องทางที่สองคือ การยื่นภาษีในช่องทางออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร (www.rd.go.th) สำหรับการยื่นแบบฯ ภ.ง.ด. 90/91/94 สามารถใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ  ซึ่งการยื่นภาษีผ่านช่องทางออนไลน์นอกจากจะสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเดินทางแล้ว ยังจะได้รับสิทธิพิเศษให้ขยายเวลายื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีช้าออกไปกว่าการยื่นแบบกระดาษ

ประโยชน์ของภาษี

●เมื่อประชาชนจ่ายภาษีให้ภาครัฐบาล เงินภาษีเหล่านี้จะถูกใช้ในการพัฒนาประเทศ เพราะรัฐเองก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานหลักเพื่อประชาชน
●สร้างความปลอดภัยให้กับภาคประชาชน
●อำนวยความสะดวกโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ถนน โรงพยาบาล ฯลฯ
●สวัสดิการค่าเล่าเรียน
●สร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีการค้าขาย” ที่น่าสนใจและเราได้รวบรวมมาฝากกันแล้วนั้นน…หวังว่าจะชอบพอกันนะครับ