หลายคนอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนมาบ้างแล้วว่ามีลักษณะอย่างไร และมีขั้นตอนการทำงานแบบไหน โดยโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนนั้นก็สามารถจำแนกออกได้เป็นหลายแบบไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกังหันไอน้ำ โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ ฯลฯ โดยในวันนี้เราจะมาพูดถึงโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพกันว่าเป็นอย่างไร ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพนั้นจะมีรูปแบบในการผลิตกระแสไฟฟ้าอยู่ 3 รูปแบบให้ได้เราได้ศึกษากัน

รูปแบบของการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานความร้อนใต้พิภพ

มาดูกันว่าโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพนั้นมีรูปแบบในการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบไหนบ้าง

  • รูปแบบแรกจะเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพแบบไอแห้ง หรือ Dry steam geothermal power plant ซึ่งจะเป็นรูปแบบที่พบได้น้อยมาก เนื่องจากว่าการที่จะได้มาซึ่งไอแห้งแบบสมบูรณ์นั้นต้องใช้อุณหภูมิของความร้อนใต้พิภพค่อนข้างสูง และเมื่อทำให้ไอน้ำที่ได้จากหลุมเจาะต้องมีอุณหภูมิที่สูงกว่า 235 °C ซึ่งไอน้ำดังกล่าวที่ว่านั้นจะต้องอยู่ในสภาวะไอร้อนยิ่งยวด เมื่อได้ไอน้ำยิ่งยวดออกมาก็จะนำไปส่งผ่านท่อไปหมุนกังหันและขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
  • รูปแบบต่อมาเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพแบบไอน้ำระเหยใหม่ หรือ Flash steam geothermal power plant โดยโรงไฟฟ้าแบบนี้เป็นแบบที่พัฒนามากจากรูแปบบแรกคือโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพแบบไอแห้ง ซึ่งน้ำพุร้อนที่ได้จากหลุมเจาะแบบแรกนั้นจะมีลักษณะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิสูง หรือในบางครั้งอาจจะมีลักษณะเป็นผสมซึ่งมีทั้งไอน้ำและของเหลวผสมอยู่ จึงทำให้ไม่สามารถนำไปผลิตไฟฟ้ากังหันไอน้ำได้โดยตรง จะต้องทำการลดความดันเพื่อแยกไอน้ำออกจากของเหลวก่อน
  • รูปแบบสุดท้ายคือโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพแบบสองวงจรสารทำงาน หรือ Binary cycle geothermal power plant เป็นรูปแบบที่เป็นการนำแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่มีอุณหภูมิระหว่าง 90-150 °C ไปให้ความร้อนแก่สารทำงานที่มีจุดเดือดต่ำกว่า เพื่อใช้สำหรับการขับเคลื่อนกังหันได้โดยใช้น้ำพุร้อนอุณหภูมิต่ำ

รูปแบบการทำงานของพลังงานความร้อนใต้พิภพทั้งสามรูปแบบนี้ก็แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าเราสะดวกและสนใจที่จะใช้รูปแบบการทำงานแบบไหน ซึ่งแต่ละรูปแบบก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป