การที่เราจะทำอะไรสักอย่างนั้น สิ่งที่จำเป็นมากๆ เลยนั้นก็คือเรื่องของ ความรู้ ปัญญาต่างๆ รวมไปถึงเรื่องของการทำงานด้านต่างๆ เพื่อสร้างผลกำไรให้กับตนเอง ซึ่งช่องทางการทำเงินที่ดีที่สุดนั้นก็คือ “การค้าขายออนไลน์” นั้นเอครับ วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “สิ่งต้องรู้ก่อนทำธรุกิจค้าขายออนไลน์” ที่น่าสนใจกันครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันเล้ยย!!!

4 สิ่งที่ต้องรู้เมื่อจะทำธุรกิจค้าขายออนไลน์

●กำหนดงบลงทุน และเลือกสินค้าที่จะขาย

 วงเงินหรืองบการลงทุน นับว่าเป็นสิ่งแรกที่ต้องวางแผนงบการขายสินค้า เพราะจะเป็นตัวกำหนดให้เราใช้เงินลงทุนในงบที่กำหนด ป้องกันการใช้งบบานปลาย สิ่งที่ควบคู่กันมาก็คือ การหาสินค้ามาขาย ควรเริ่มต้นจากความชอบของผู้ค้า และเช็กความต้องการของลูกค้าในตลาดรวมถึงการมองหา “แหล่งสินค้า” ที่จะนำมา “ขายของออนไลน์” โดยสามารถหาซื้อในปริมาณมากๆ ที่ราคาถูกเพื่อลดต้นทุนนั้นเองครับ

●ช่องทางการขายสินค้า เลือกให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย

ช่องทางการขายสินค้าออนไลน์มีหลากหลาย เช่น ขายบน เว็บไซต์ ที่เปิดใหม่ขึ้นเอง ซึ่งแม้จะต้องลงทุนเพื่อทำเว็บไซต์ของตัวเอง แต่ก็มีข้อดี คือ สามารถบริหารจัดการหน้าร้าน การแสดงผล รวมถึงฟังก์ชั่นที่ต้องการได้ตามที่ต้องการ

●ทำการตลาดบนโซเชียลมีเดีย

พ่อค้าและแม่ค้ามือใหม่ต้องให้ความสำคัญกับ “การตลาดออนไลน์” หรือการโปรโมทร้านค้าผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ เป็นอย่างมากครับ ไม่ว่าจะเป็นโปรโมทผ่าน Facebook, TikTok, Twitter หรือ Instagramนั้นจะช่วยเพิ่มช่องทางการขายและสร้างฐานการตลาดได้เป็นอย่างดีเลยหล่ะครับ

●บริหารจัดการ “เวลา” ตอบลูกค้ายิ่งเร็วยิ่งดี

ก่อนจะเริ่มขายออนไลน์จริง ควรเตรียมการและซักซ้อมเรื่องการบริหาร “เวลา” ให้ดี เนื่องจากการขายออนไลน์จะมีการซื้อ-ขายกันตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ค้าต้องตั้งรับจุดนี้ให้ได้ เพื่อไม่ให้การค้ามาทำลายสมดุลชีวิตจนร่างกายพังในอนาคต

รู้จักกับ ภาษีการค้า

ภาษีการค้า (business tax) – ภาษีการขายที่เก็บกับสินค้าขั้นสุดท้ายทุกชนิดในอัตราเดียวกันโดยไม่มีข้อยกเว้น เราเรียก ภาษีการขายนั้นว่า อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยมีอัตราเดียว คือร้อยละ 7 จัดเก็บจาก ผู้ประกอบการกิจการสินค้าและบริการทุกประเภท ยกเว้น การขายสินค้า 24  ประเภท ที่ระบุไว้

หากเราไม่เสียภาษีจะเกิดอะไรขึ้น?

การที่เราไม่ทำการยื่นภาษีจะทำให้เราได้รับโทษทางอาษญา โดยบทลงโทษมีดังต่อไปนี้

–          กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี

–          กรณีเจ้าพนักงานตรวจสอบ ออกหมายเรียก และปรากฏว่า มิได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้แต่ชำระภาษีขาดหรือต่ำไป นอกจากจะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มแล้ว ยังจะต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระแล้วแต่กรณี เงินเบี้ยปรับดังกล่าวอาจลดหรืองดได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

–          กรณีไม่ยื่นแบบ แสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91 หรือ 94 ภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท

ภาษีย้อนหลังคืออะไร?

ภาษีย้อนหลัง (Retroactive tax) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมีการตรวจสอบภาษีย้อนหลัง โดย 3 หน่วยงาน ได้แก่ กรมสรรพากร, กรมศุลกากร และกรมสรรพสมิต ซึ่งสาเหตุที่ถูกตรวจสอบภาษีย้อนหลัง คือ ไม่ยื่นภาษี รายได้ งบการเงินไม่ถูกต้อง หรือมีความผิดปกติที่เข้าข่ายทำให้กรมสรรพากรสงสัย และเริ่มตรวจสอบบัญชีนั้นเองครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “สิ่งต้องรู้ก่อนทำธรุกิจค้าขายออนไลน์” ที่ทางเราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กันไม่มากก็น้อยกันนะครับ